12-Mar-2019 อ่าน : 32093 คน
ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายอาจมีปัญหาไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้จำเป็นต้องใส่สายสวนปัสสาวะ
การดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ ปฏิบัติดังนี้
1. ทำความสะอาด ผิวหนังรอบๆ บริเวณสายสวนปัสสาวะทุกวัน โดยใช้น้ำสบู่และตามด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก ในขณะอาบน้ำประจำวัน หรือขณะเช็ดตัวและหลัง จากถ่ายอุจจาระ
2. ดูแลให้ปัสสาวะไหลลงสู่ถุงรองรับปัสสาวะได้สะดวกสังเกตและระวังไม่ให้มีการรั่วซึม หรือตรวจสอบให้สายไม่เกิดการหัก พับ หรืองอ หรืนอน/นั่งทับสาย ที่เป็นเหตุให้ปัสสาวะไหลลงถุงไม่สะดวกหรือไหลลงถุงไม่ได้
3. ใช้พลาสเตอร์ยึดติดสายสวนปัสสาวะให้อยู่กับที่โดยมีการติดดังนี้
ควรเปลี่ยนจุดติดสายสวนปัสสาวะทุกวัน ดูแลไม่ให้สายตึงมากและระวังไม่ให้สายสวนปัสสาวะขยับเข้า-ออก เพราะจะทำให้เชื้อโรคเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะทางรอยต่อช่องทางข้าวของสายสวน ทำให้เกิดการติดเชื้อได้
4. ควรแขวนหรือจัดให้ถุงเก็บปัสสาวะอยู่ต่ำกว่าตำแหน่งของกระเพาะเสมอไม่ว่าจะอยู่ในท่านั่ง นอน หรือเดิน ไม่ควรวางไว้ที่โต๊ะหรือเก้าอี้ และควรตั้งปากถุงขึ้นเสมอตลอดเวลา
5. ขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขึ้นลงเตียงควรล็อคสาย หรือหักพับสายสวนปัสสาวะไว้ ป้องกันกันการไหลย้อน แต่ถ้าอยู่ในขณะเดินอาจผูกติดไว้กับขาของผู้ป่วย ถ้าสายสวนปัสสาวะยาวเกินไปให้ม้วนเป็นวงกลม
6. ควรเทน้ำปัสสาวะออกจากถุงเมื่อมีน้ำปัสสาวะประมาณ 3 ใน 4 ของถุง หลังจากเทปัสสาวะออก อย่าลืมปิดล็อคท่อระบายและเช็ดปลายท่อก่อนและหลังเทปัสสาวะทุกครั้งด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์เสมอ
7. ถ้าสายสวนปัสสาวะเลื่อนหลุดให้ไปพบแพทย์และพยาบาล ถึงเก็บปัสสาวะรั่วซึมให้เปลี่ยนถุงปัสสาวะได้เองตามคำแนะนำของโรงพยาบาล
8. ห้ามดึงสายสวนปัสสาวะออกเอง เนื่องจากปลายท่อด้านในมีลูกโป่งอยู่ ซึ่งจะทำให้ท่อปัสสาวะเกิดการฉีกขาดหรือเป็นแผลได้