ปรึกษาผลิตภัณฑ์กับเรา

การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งลําไส้ - การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดลำไส้ใหญ่

15-Feb-2019     อ่าน : 47849 คน


 

การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งลําไส้ - การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดลำไส้ใหญ่

การผ่าตัด ถือเป็นการรักษาหลักของมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยตัดเอาลำไส้ส่วนที่เป็นโรคและต่อมน้ำเหลืองออกไป ตัดแล้วก็ต่อ โดยอาจเป็นการต่อลำไส้ใหญ่เข้ากับลำไส้เล็ก หรือลำไส้ใหญ่ส่วนที่เหลืออยู่ต่อเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็นมะเร็ง  ในบางครั้งถ้าเป็นมะเร็งที่ลุกลามมาก หรือมะเร็งของลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่อยู่ติดกับทวารหนัก ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการตัดทำลายกล้ามเนื้อหูรูดรูทวารได้ การผ่าตัดอาจมีความจำเป็นต้องทำทวารเทียมเอาปลายลำไส้ส่วนที่เหลืออยู่เปิดออกทางหน้าท้องเป็นทางให้อุจจาระออก ปัจจุบันมีการใช้เครื่องมือชนิดลวดเย็บมาช่วยต่อลำไส้ ทำให้สามารถผ่าตัดมะเร็งที่อยู่ต่ำๆ โดยอยู่เหนือรูทวารหนักเพียง 4-5 เซนติเมตร ได้ โดยไม่ต้องทำทวารเทียม

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดลำไส้ใหญ่

โดยทั่วไป 2 หรือ 3 วันก่อนการผ่าตัด แพทย์จะกำหนดการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งลําไส้ให้รับประทานอาหารอ่อน หรือ อาหารที่ดูดซึมเร็วและย่อยง่าย บางครั้งก็อนุญาตให้เป็นอาหารประเภทของเหลวใส (เช่น น้ำผลไม้, น้ำซุปใส, เจลาติน) บางมื้อ และจนเมื่อ 24 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับเพียงอาหารเหลวใส และจะถูกสั่งงดอาหารหลังเที่ยงคืนก่อนผ่าตัด

เนื่องจากหน้าที่ของลำไส้ใหญ่ คือ เก็บกากอาหาร จึงมีแบคทีเรียบริเวณนี้มากมาย ก่อนการผ่าตัดจึงต้องมีการล้างทำความสะอาดลำไส้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยอาจทำได้ 2 แบบ คือ (1) ใช้ยาระบายอย่างแรงกระตุ้นระบบขับถ่าย หลังผ่าตัดลำไส้เอาของเสียออกจากลำไส้ (2) ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังต้องตรวจอื่นๆ อาทิ โรคประจำตัวของผู้ป่วย เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน หลังผ่าตัด ลำไส้

หากก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่และอุดตันลำไส้ เป็นไปได้ที่แพทย์จะส่องกล้องเพื่อใส่ stent (ขวดลวดพลาสติก) เข้าไปขยายลำไส้ ทั้งนี้เพื่อเปิดลำไส้ไม่ให้อุดตัน เป็นการเตรียมลำไส้ให้สะอาดก่อนทำการผ่าตัดในอีก 2-3 วันถัดไป วิธียังช่วยลดผลข้างเคียงของการผ่าตัด และสามารถตัดต่อลำไส้ได้เลยโดยไม่ต้องทำทวารเทียมทางหน้าท้อง

การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งลําไส้

ผลข้างเคียงของการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงการทำงานของอวัยวะและสุขภาพของผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด หลังผ่าตัดลำไส้ถ่ายบ่อย และผู้ป่วยอาจรู้สึกอึดอัดและเจ็บปวดแผล อาจต้องบรรเทาปวดด้วยยาประมาณ 2-3 วัน
ผลข้างเคียงอื่นๆ ได้แก่ ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยอ่อนได้ มีเลือดออกในช่องท้อง เลือดอุดตันบริเวณขา และความเสียหายของอวัยวะใกล้เคียงในระหว่างการผ่าตัด บางกรณีการเชื่อมต่อกันใหม่ระหว่างปลายของลำไส้อาจไม่สมบูรณ์และเกิดรอยรั่วซึ่งจะนำไปสู่การติดเชื้อได้  หลังการผ่าตัดเนื้อเยื่อแผลเป็นอาจพัฒนาเป็นพังผืด เรียกว่า adhesions ซึ่งในบางรายเป็นเหตุให้ลำไส้ติดอุดตันจนต้องผ่าตัดแก้ไข เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทีมแพทย์จะคอยระวังป้องกันให้อยู่แล้ว

นอกจากนี้ยังมีภาวะแทรกซ้อน หลังผ่าตัดลำไส้ ในระบบขับถ่าย อาทิ ท้องเสีย การขับถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลา และหลังผ่าตัดลำไส้ถ่ายบ่อย เป็นต้น โดยส่วนใหญ่หลังผ่าตัด ผู้ป่วยต้องฝึกการควบคุมการขับถ่ายที่ผิดไปจากเดิมของลำไส้ ต้องอาศัยเวลา ความช่วยเหลือและคำแนะนำจากแพทย์ อาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้น เมื่อลำไส้ที่ตัดต่อใหม่ค่อยๆ คุ้นเคยกับหน้าที่

ในด้านผลกระทบในระบบทางเดินอาหาร ช่วง 2 วันแรก หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำ ระหว่างเวลานี้ผู้ป่วยจะถูกจำกัดอาหารปกติ และมีการจำกัดน้ำ เนื่องจากลำไส้ต้องการระยะเวลาในการฟื้นฟู ช่วงนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร จนเมื่อรับประทานอาหารทางปากได้ ก็ต้องค่อยๆ เริ่มจากอาหารเหลวไปสู่อาหารเนื้อสัมผัสหยาบ

เกี่ยวกับสมรรถภาพทางเพศหลังการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ ถ้าเป็นการผ่าตัดลำไส้ตรงออกทั้งหมด และเปิดรูระบายอุจจาระทางหน้าท้อง (Abdomino-perineal resection) อาจมีผลต่อสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย โดยมีผลทำให้จำนวนอสุจิน้อยลง เพราะประสาทควบคุมการหลั่งถูกทำลาย ดังนั้น ในรายที่ต้องการมีบุตรอาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อน สำหรับในผู้หญิงอาจไม่ส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพทางเพศโดยตรง เพียงแต่หากมีพังผืด adhesions อาจเป็นสาเหตุให้รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้น ผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดลำไส้ในลักษณะดังกล่าวข้างต้น ควรทำความเข้าใจกับภรรยา-สามี ถึงภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น เพื่อการมีชีวิตครอบครัวที่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดลำไส้ในกรณีอื่นๆ ไม่ได้ส่งผลกระทบ

ปัจจุบันมีการผ่าตัดโดยการใช้กล้อง ซึ่งในรายที่ได้รับการผ่าตัดโดยวิธีนี้ ผู้ป่วยจะนอนโรงพยาบาลสั้นกว่ารายที่ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง แต่มีผลภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้กับท่อไตซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน อาจเกิดแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือด และอาจพบไส้เลื่อนที่บริเวณแผลผ่าตัด ในกรณีที่มะเร็งลำไส้ใหญ่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง การผ่าตัดอาจต้องขยายไปยังอวัยวะเหล่านั้นด้วย เช่น กระเพาะอาหาร ตับ ไต ลำไส้เล็ก รังไข่ หรือกล้ามเนื้อผนังหน้าท้อง ในรายที่มะเร็งลุกลามไปที่ตับ ศัลยแพทย์จะพิจารณาตัดตับบางส่วนออกไปด้วยเช่นกัน

อาหารและโภชนาการสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดลำไส้

กรณีการผ่าตัดลำไส้ออกบางส่วน จะส่งผลให้ระบบย่อยอาหารได้รับความเสียหายบ้างในช่วงแรก และหลังผ่าตัดลำไส้ถ่ายบ่อย ควรรับประทานอาหารเหลวที่มีพลังงานสูง เพื่อให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ง่ายขึ้น ในกรณีของผักและผลไม้ เนื่องจากบางภาวะที่ระบบย่อยอาหารของผู้ป่วยเริ่มแปรปรวน การได้รับใยอาหารมากอาจส่งผลให้เกิดอาการแน่นท้องและท้องอืดได้ ควรให้ผู้ป่วยรับใยอาหารทีละน้อยแล้วสังเกตอาการ ผักบางชนิดยิ่งทำให้ท้องอืด โดยเฉพาะผักที่มีกลิ่นฉุนเพราะมีสารพวกกำมะถันอยู่มาก เช่น ต้นหอม หัวหอมใหญ่  ดังนั้น หากมีอาการท้องอืดอยู่แล้วควรหลีกเลี่ยง สำหรับผลไม้สามารถรับประทานได้ทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้ที่มีเส้นใยสูง เช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล  ยกเว้นกรณีเพิ่งได้รับการผ่าตัดควรเลือกชนิดที่ย่อยง่าย เช่น มะละกอสุก ส้ม แก้วมังกร เป็นต้น  ที่สำคัญหลังจากการรับประทานผลไม้เส้นใยสูงแล้ว ควรเพิ่มการดื่มน้ำให้มากขึ้นเพื่อป้องกันการอุดตันของลำไส้จากเส้นใยอาหาร

การตัดลำไส้ออกไป ผู้ป่วยอาจเกิดอาการ ปวดเกร็งช่องท้อง คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย และหลังผ่าตัดลำไส้ถ่ายบ่อย อาจพบอาการน้ำตาลในเลือดต่ำร่วมด้วย อาการดังกล่าวเรียกว่า ดัมปิ้ง ซินโดรม (Dumping Syndrome) เกิดจากการที่อาหารผ่านกระเพาะอาหารเข้าสู่ลำไส้เล็กเร็วเกินไป ทำให้มีอาการปวดเกร็งช่องท้อง คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย และอาจพบอาการน้ำตาลในเลือดต่ำร่วมด้วย มักพบในผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือลำไส้ และหากดูแลตัวเองไม่ดีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้จึงควรมีการดูแลอาหารพิเศษ ดังนี้

  • ไม่ควรรับคาร์โบไฮเดรตครั้งละมากๆ ควรรับประทานทีละน้อย และจัดท่านั่งรับประทานแบบกึ่งนั่งกึ่งนอนเพื่อลดอาการดังกล่าว
  • ลดปริมาณอาหารต่อมื้อให้น้อยลง แต่รับประทานเพิ่มจำนวนมื้อขึ้นแทน
  • ไม่รับประทานอาหารร้อนจัด หรือเย็นจัดจนเกินไป  
  • ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น พวกเครื่องดื่มธัญพืช  
  • ไม่ดื่มน้ำระหว่างมื้ออาหาร แต่ควรเว้นระยะห่างจากการรับประทานอาหาร 30 นาที
  • ควรอยู่ในท่ากึ่งนั่งกึ่งนอนขณะรับประทานอาหารเพื่อให้อาหารเคลื่อนตัวได้ดีขึ้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดสูง เช่น มะเขือเทศ ส้ม มะนาว เป็นต้น
  • ควรรับประทานอาหารที่มี pectin สูง เช่น  แอปเปิ้ล พลัม  พีช  เป็นต้น
  • ควรได้รับแคลเซียมและวิตามิน บี 12  เสริมจะสามารถทำให้ฟื้นฟูร่างกายได้เร็วขึ้น

หลังผ่าตัดลำไส้ใหญ่แล้ว ส่วนใหญ่แพทย์จะนัดให้ผู้ป่วยมาตรวจเป็นระยะ ทุก 3 เดือน 2 ปีแรก เพราะมะเร็งจะเกิดใหม่ส่วนใหญ่ประมาณ 2 ปีแรก ร้อยละ 70 หลังจากนั้นอีก 3 ปีหลัง โอกาสการเกิดซ้ำจะลดลงเหลือร้อยละ 30 หลังจาก 5 ปีแล้ว ยังคงต้องตรวจติดตามอยู่เสมอตามแพทย์นัด จากความถี่ทุก 3 เดือน ก็ขยายเป็น 6 เดือนครั้ง  จนเป็นปีละครั้งหากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก  inbox Facebook Tian Xian Herb

ปรึกษาผลิตภัณฑ์

กรุณากรอกแบบฟอร์ม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง


มะเร็งกับการดูแล

มะเร็งกับการรักษา

มะเร็งกับอาหาร

บริษัท เฟยดา จำกัด

โดยตั้งแต่ปี 1998 บริษัท เฟยดา จำกัด สาขาประจำประเทศไทย เริ่มดำเนินงานนำเข้า และเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรเทียนเซียนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

อ่านต่อ >>

ผลิตภัณฑ์ของเรา

ยาน้ำเทียนเซียน

เอ็กซ์แทร็คท์ พลัส

นิทรา เฮอร์เบิล ฟุทโซค

ติดต่อเรา

02-264-2217,02-264-2218,
02-264-2219
เวลาทำการ 08.30 น.-17.00 น.
[email protected]
213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 สุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110

Copyright © 2020 บริษัท เฟยดา จำกัด. All rights reserved.