24-Oct-2018 อ่าน : 1382 คน
เร่งวิจัยยาต่อต้าน 'มะเร็ง' สร้างจากภูมิคุ้มกันมนุษย์ 'จุฬาฯ'รับบริจาคระดมทุน คนไทยได้ใช้ไม่เกิน‘2566’
จุฬาฯพัฒนาแอนติบอดีรักษามะเร็ง เฟส 2 ในปี 62 พร้อมวาง เป้าคนไทยมียาต้านมะเร็งใช้ในปี 66 เร่งระดมทุนกว่า 1.5 พันล้าน หวังช่วยลดต้นทุน ได้ยาราคาถูกในอนาคต พร้อมเปิดบัญชีเพิ่ม หลังยอดบริจาคถล่มเกือบหมื่นรายการ ด้าน สวรส.-กรมวิทย์ฯทุ่มงบ 13 ล้าน หนุนงานวิจัย
เมื่อวันที่ 19 ต.ค. ศ.พญ.ณัฏฐิยา หิรัญกาญจน์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย กล่าวว่า ภูมิคุ้มกันของมนุษย์มีหลายชนิด จะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดที่เซลล์เป็นตัวทำลายเซลล์ที่ผิดปกติ ทั้งนี้ อวัยวะต่างๆจะมีการผลิตเซลล์ที่ชื่อว่าพีดี-แอล 1 เป็นโมเลกุลในเม็ดเลือดขาว มาจับตัวกับเซลล์พีดี-1 หรือโมเลกุลบนเซลล์มะเร็ง เพื่อยับยั้งไม่ให้ทำงานมากเกินไป ทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายกลับสู่สมดุล ดังนั้น เทคโนโลยีในการผลิตยาต้านมะเร็งจากภูมิคุ้มกัน จึงเป็นการค้นหาแอนติบอดี เพื่อยับยั้งไม่ให้เซลล์พีดี-แอล1 มาจับคู่กับพีดี-1 ทำให้ทีเซลล์ทำงานได้ต่อเนื่อง สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ ขณะนี้ทีมนักวิจัยจุฬาฯได้ค้นพบแอนติบอดี ต้นแบบ 1 ตัว สามารถหยุดการทำงานไม่ให้พีดี-1 และพีดี-แอล1 มาจับคู่กันได้ ให้ผลในหลอดทดลองใกล้เคียงกับยาแอนติบอดีของต่างประเทศ กำลังเดินหน้าสู่ขั้นต่อไป ขณะนี้รอพิสูจน์ว่าในประเทศอื่นมีการวิจัยค้นพบตัวเดียวกันนี้แล้วเอาไปจดสิทธิบัตรหรือไม่ ถ้าไม่มีจะพัฒนาต่อเป็นยาได้เลย แต่ถ้ามีแล้วต้องค้นหาตัวใหม่ไปเรื่อยๆอย่างน้อย 10 ตัว
ศ.พญ.ณัฏฐิยากล่าวต่อว่า ขอเชิญชวนคนไทยร่วมบริจาคสมทบทุน ได้ที่ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขบัญชี 408-004443-4 ชื่อบัญชีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เงินบริจาคเพื่อการวิจัย) ธนาคารไทยพาณิชย์สาขาสภากาชาดไทย และบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ 045-304669-7 ชื่อบัญชีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เงินบริจาคเพื่อการวิจัย) ทั้งนี้ ที่เปิดบัญชีเพิ่มเพราะตอนนี้ยอดบริจาคเข้ามาถึง 9,999 รายการต่อวัน ส่งผลให้บัญชีเดิมถูกล็อก ธนาคารจึงเปิดบัญชีใหม่ให้ แต่วันที่ 20 ต.ค. จะใช้ได้ทั้ง 2 บัญชีเหมือนเดิม เงินที่บริจาคสามารถลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า
ด้าน นพ.ไตรรักษ์ พิสิทฐ์กุล นักวิจัยพัฒนาแอนติบอดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯกล่าวว่า การวิจัย มีทั้งหมด 5 เฟส ขณะนี้ผ่านขั้นตอนการผลิตยาแอนติบอดีต้นแบบจากหนู ใช้เวลา 2 ปี ใช้งบของจุฬาฯ 100 ล้านบาท ต่อไปเฟส 2 จะเริ่มในปี 2562 เป็นขั้นตอนปรับปรุงแอนติบอดีให้มีความคล้ายของมนุษย์และเพิ่มประสิทธิภาพ ใช้ระยะเวลา 12 เดือน มีความต้องการใช้งบ 10 ล้านบาท ส่วนเฟส 3 คือการผลิตในปริมาณสูงจากโรงงาน เริ่มปี 2563 ใช้เวลาดำเนินการ 18 เดือน ต้องการใช้งบ 200 ล้านบาท เฟสที่ 4 เริ่มปี 2565 เริ่มทดสอบในสัตว์ทดลอง จะใช้ระยะเวลา 20 เดือน ต้องการใช้งบ 100-200 ล้านบาท เฟสที่ 5 เริ่มในปี 2566 จะทดสอบในมนุษย์ ระยะเวลา 48 เดือน ต้องการใช้งบ 1,000 ล้านบาท ที่ต้องการให้ประชาชนร่วมบริจาคเพราะเป้าหมายของเราคือ ต้องการทำให้ราคายาถูกลง ถ้าได้เงินจากบริษัทที่ไม่แสวงหาผลกำไรหรือได้จากประชาชน เมื่อยามีประสิทธิภาพสามารถรักษาโรคได้ จะทำให้ได้ยาในราคาที่ถูกลง เพราะไม่ต้องไปบวกต้นทุน หรือแสวงหากำไร ปัจจุบันราคายาฉีดแอนติบอดีที่นำเข้ามาอยู่ที่เข็มละ 2 แสนบาท ผู้ป่วยต้องฉีดต่อเนื่อง 2 ปี ตกปีละประมาณ 4 ล้านบาท ถ้าเราทำได้ถูกลงคร่าวๆอาจจะได้ยาอยู่ที่เข็มละ 2 หมื่นบาท หรือถูกลงกว่า 10 เท่า ซึ่งต้องดูในอนาคตต่อไป
“โปรเจกต์นี้เป็นเรื่องยาก ต้องช่วยกันในระยะยาว แต่ถ้าไม่ทำก็ไม่เกิดขึ้น เราจะไม่มียาดีราคาถูกใช้ ดังนั้นจึงอยากให้คนไทยช่วยกันบริจาค ขอขอบคุณคนไทยที่ช่วยกันสนับสนุนเข้ามา หากมีปัญหาอุปสรรคก็ร่วมกันแก้ไขต่อไปทีละเปลาะ” นพ.ไตรรักษ์กล่าว
ขณะที่ นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผอ.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า สวรส.พร้อมสนับสนุนจุฬาฯ ในการต่อยอดงานวิจัยไทยในการผลิตยาต้านมะเร็งจากภูมิคุ้มกันมนุษย์ 10 ล้านบาท หากสำเร็จจะช่วยคนไทยเข้าถึงยาดี ราคาถูก โดยเฉพาะโรคมะเร็ง คาดว่าอีก 30 ปีข้างหน้า จะลดลงร้อยละ 50 ของค่ายาทั้งประเทศ
ที่มา ไทยรัฐ
โดยตั้งแต่ปี 1998 บริษัท เฟยดา จำกัด สาขาประจำประเทศไทย เริ่มดำเนินงานนำเข้า และเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรเทียนเซียนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย
อ่านต่อ >>
ยาน้ำเทียนเซียน
เอ็กซ์แทร็คท์ พลัส
นิทรา เฮอร์เบิล ฟุทโซค
02-264-2217,02-264-2218,
02-264-2219
เวลาทำการ 08.30 น.-17.00 น.
[email protected]
213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 สุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110