06-Feb-2018 อ่าน : 1328 คน
นพ.พลเทพ วิจิตรคุณากร ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและเวชศาสตร์ป้องกัน และนักวิชาการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ข้อมูลว่า สถาบันมะเร็งนานาชาติองค์การอนามัยโลก พบว่าข้อมูลในปี 55 โรคมะเร็งที่มีปัจจัยเสี่ยงจากการดื่มแอลกอฮอล์ ที่มีความชุกในประเทศไทยอันดับ 1 ได้แก่ “มะเร็งเต้านม” หญิง 550 คนจะเป็น 1 คน รองลงมาคือ “มะเร็งลำไส้ใหญ่” พบมากในผู้ชาย ในจำนวน 1,370 คนจะเป็น 1 คน ส่วนมะเร็งอื่นๆ แม้จะมีความชุกต่ำ แต่ถ้าดื่มก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งที่สูงมากเช่นกัน
กลไกของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง มีการศึกษาในสัตว์ทดลองและเซลล์มนุษย์เอง ปัจจุบันสมมุติฐาน อาทิ ในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ จะมีการเผาผลาญเอทานอลไปเป็น “acetaldehyde” ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นพิษและอาจเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ สามารถทำลายได้ทางดีเอ็นเอ และโปรตีน
ส่วนหลักฐานทางการแพทย์ ที่บ่งชี้ว่าการดื่มเป็นสาเหตุเกิดมะเร็งหลายชนิดที่สำคัญ เช่น “มะเร็งเต้านม” ในเพศหญิง มีการศึกษาทางระบาดวิทยามากกว่า 100 ฉบับ เพื่อหาความสัมพันธ์ของการดื่มกับการเกิดมะเร็งเต้านม ทั้งวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือน หากดื่ม 45 กรัม/วัน (3 ดื่มมาตรฐาน) เสี่ยงมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม 1.5 เท่า
ยิ่งไปกว่านั้นนักวิจัยพบว่า ในทุกๆ 10 กรัมที่ดื่มเพิ่มขึ้นต่อวัน เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านม 7-10% ซึ่งล่าสุดปี 60 พบว่าหารดื่มปริมาณต่ำๆ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ดื่มมาตรฐานต่อวัน ยังเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านมประมาณ 1.1 เท่า โดยสรุปแล้วจากการศึกษา ไม่มีการดื่มรูปแบบใด ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยง การเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้
ในอดีตเป็นที่รู้กันดีว่า...การทานยาคุมกำเนิดเป็นสาเหตุหนึ่ง “มะเร็งเต้านม” ในปัจจุบันพบว่า การดื่มในหญิงวัยหมดประจำเดือนที่ทานยาคุม จะเพิ่มระดับความเสี่ยงมากขึ้น 1.3 เท่า เมื่อเทียบกับหญิงวัยหมดประจำเดือนทั่วไปที่ไม่ได้ดื่มเครื่องดื่มหรือทานยาคุม ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มสูงเมื่อดื่มมากขึ้น
“มะเร็งลำไส้ใหญ่” ความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ และการดื่มไม่ได้มีปริมาณมากนัก ในปี 57 ได้ศึกษารูปแบบ meta-analysis รวบรวมงานวิจัยจำนวน 23 เรื่อง พบว่าการดื่มปริมาณ 50 กรัมขึ้นไป/วัน (3.5 ดื่มมาตรฐาน) เสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ 1.2 เท่า และปริมาณ 100 กรัม เสี่ยงเพิ่มเป็น 1.6 เท่า
“มะเร็งตับ” การดื่มเป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งตับสูงถึง 1.5-3.6 เท่า ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเพศชายเท่านั้น แต่เพศหญิงที่ดื่มมากกว่า 14 หน่วยดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์ จะเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งตับเพิ่มขึ้น 70% และในปริมาณระหว่าง 7 ถึง 14 หน่วยดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์ จะเพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งตับ 20%
“แอลกอฮอล์เป็นพิษต่อตับโดยตรง ทำให้เกิดตับอักเสบจากสุรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสะสมของไขมันไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งจะเกิดพยาธิสภาพในตับ 4 ระยะ ได้แก่ ภาวะไขมันสะสมในตับ จากนั้นตับอักเสบ เมื่อกระบวนการอักเสบเกิดขึ้นเรื่อยๆ จะเกิดพยาธิสภาพเป็นพังผืด จนเรียกว่าภาวะตับแข็งจากแอลกอฮอล์ และท้ายที่สุดจะเข้าสู่การเป็นโรคมะเร็งตับ”
“มะเร็งศีรษะและลำคอ” ผู้ที่ดื่ม 50 กรัมต่อวันขึ้นไปประมาณ 3.5 ดื่มมาตรฐาน เสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งกลุ่มนี้มากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มอย่างน้อย 2-3 เท่า ซึ่งถ้าดื่มในปริมาณที่ต่ำๆ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 หน่วยดื่มมาตรฐานต่อวัน ก็ไม่ได้ช่วยป้องกันการเกิดโรคเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้นการสูบบุหรี่ร่วมด้วยในผู้ที่ดื่มระดับนี้ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเกิดมะเร็งกลุ่มนี้
โดยสรุปแล้ว การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งหลายชนิด ที่เป็นปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุขของไทย แต่การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นับเป็นปัจจัยที่สามารถป้องกันได้ โดยต้องอาศัยความร่วมมือทั้งภาคประชาชน และภาครัฐในการแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งอาจจะเริ่มต้นจาก “การเห็นความสำคัญและวางแผนแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง”
ที่มา : เดลินิวส์
โดยตั้งแต่ปี 1998 บริษัท เฟยดา จำกัด สาขาประจำประเทศไทย เริ่มดำเนินงานนำเข้า และเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรเทียนเซียนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย
อ่านต่อ >>
ยาน้ำเทียนเซียน
เอ็กซ์แทร็คท์ พลัส
นิทรา เฮอร์เบิล ฟุทโซค
02-264-2217,02-264-2218,
02-264-2219
เวลาทำการ 08.30 น.-17.00 น.
[email protected]
213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 สุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110