27-Jun-2017 อ่าน : 2119 คน
เทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยบำบัดมะเร็งในเด็ก
เมื่อต้นเดือนมกราคม 2017 เอมิเลีย โบรม เด็กหญิงวัย 10 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นมะเร็งกล้ามเนื้อลาย (Rhabdomyosarcoma) ซึ่งไม่พบบ่อยนัก มะเร็งทำให้หนูน้อยตาบอดไปข้างหนึ่ง
เอมิเลีย ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด และมีสิทธิ์ได้รับการรักษาโดยการใช้อนุภาคโปรตอน แต่ในสหราชอาณาจักรยังไม่ให้มีการรักษาด้วยวิธีนี้ เอมิเลียต้องเดินทางไปรับการรักษาในสหรัฐฯ โดยหน่วยงานบริการสาธารณสุขแห่งชาติของอังกฤษ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการรักษาและการเดินทาง ขณะที่มีผู้บริจาคเงินเป็นค่าใช้จ่ายให้พ่อแม่ของเอมิเลียสามารถเดินทางไปอยู่กับเธอระหว่างรับการรักษาเป็นเวลา 3 เดือนในสหรัฐฯ ด้วย
กระแสระดมทุนสาธารณะเพื่อรักษามะเร็งใน รพ.เอกชน กำลังมาแรง
หน้ากากกั้นความอาย ในวัยตรวจมะเร็งปากมดลูก
ศาลอนุญาตให้ผู้ป่วยมะเร็งวัย 14 แช่แข็งศพตัวเอง
ก่อนหน้านี้ มีงานวิจัยชิ้นใหม่จากสหรัฐฯ บ่งชี้ว่า การรักษาโรคมะเร็งด้วยอนุภาคโปรตอนมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการรักษาด้วยวิธีอื่น และยังให้ผลข้างเคียงน้อยกว่าการรักษาด้วยรังสีเอ็กซ์ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันด้วย
ผลการวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Oncology โดย ดร.ทอรันน์ ย็อค จากโรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์ในสหรัฐฯ เป็นผู้นำการศึกษาคนไข้ 59 คน อายุ 3-21 ปี ระหว่างปี 2546-2552 ซึ่งคนไข้ทั้งหมดป่วยเป็นโรคมะเร็งสมอง Medulloblastoma ที่พบได้บ่อยในเด็ก
การศึกษาพบว่า หลังเข้ารับการรักษาด้วยอนุภาคโปรตอนได้ 5 ปี อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มนี้เท่ากับผู้ที่ผ่านการรักษาด้วยรังสีเอ็กซ์ แต่ได้รับผลข้างเคียงที่หัวใจ, ปอด และระบบทางเดินอาหารน้อยกว่า ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไข้ได้เป็นอย่างมาก
งานวิจัยชิ้นนี้แนะนำให้การรักษาด้วยรังสีโปรตอนเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสี เพราะเป็นการใช้รังสีโปรตอนพลังงานสูงเล็งเป้าหมายไปที่มะเร็งโดยตรง และช่วยลดปริมาณรังสีที่จะส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะข้างเคียงได้
การรักษาด้วยรังสีโปรตอนสามารถใช้รักษาเนื้องอกที่ไขสันหลัง, มะเร็งซาร์โคมาใกล้กับกระดูกสันหลังและสมอง, มะเร็งต่อมลูกหมาก, มะเร็งปอด, มะเร็งตับ และมะเร็งในเด็กชนิดต่าง ๆได้
ศ.กิลลีส์ แม็คเคนนา ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด บอกว่า การรักษาด้วยรังสีโปรตอนให้ผลข้างเคียงน้อยกว่าการรักษาด้วยรังสีเอ็กซ์ ทั้งยังไม่พบปัญหามะเร็งทุติยภูมิที่แพร่จากอวัยวะหนึ่งไปสู่อวัยวะอื่น ๆด้วย แต่ ดร.เคียรัน บรีน จากศูนย์วิจัยเนื้องอกในสมอง ระบุว่า ควรศึกษาการรักษาวิธีนี้ในระยะยาวต่อไปก่อน
ทั้งนี้ การรักษามะเร็งด้วยรังสีโปรตอน ตกเป็นข่าวครึกโครมเมื่อ 2 ปีก่อน หลังจากพ่อแม่ชาวอังกฤษ คือ เบรตต์ และนักห์เมห์ คิง ได้ลักพาตัว อัชยา บุตรชายวัย 5 ขวบ ออกจากโรงพยาบาลในเมืองเซาท์แธมป์ตัน เพราะต้องการให้หนูน้อยเข้ารับการรักษาด้วยรังสีโปรตอนในกรุงปราก ของสาธารณรัฐเช็ก เนื่องจากโรงพยาบาลในอังกฤษไม่ยอมรักษาด้วยวิธีดังกล่าว ส่งผลให้ทั้งคู่ถูกตำรวจไล่ล่าแล้วถูกจับกุมได้ในสเปน แต่ภายหลังได้รับการปล่อยตัว ส่วนหนูน้อยอัชยา ก็ได้รับอนุมัติให้เข้ารักษาในกรุงปราก โดยที่บริการสาธารณสุขแห่งชาติ (เอ็นเอชเอส) ของอังกฤษจ่ายค่ารักษาให้ และเมื่อเดือน มี.ค. ปีก่อนพ่อของอัชยา ประกาศว่าหนูน้อยปลอดจากมะเร็งแล้ว
โดยตั้งแต่ปี 1998 บริษัท เฟยดา จำกัด สาขาประจำประเทศไทย เริ่มดำเนินงานนำเข้า และเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรเทียนเซียนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย
อ่านต่อ >>
ยาน้ำเทียนเซียน
เอ็กซ์แทร็คท์ พลัส
นิทรา เฮอร์เบิล ฟุทโซค
02-264-2217,02-264-2218,
02-264-2219
เวลาทำการ 08.30 น.-17.00 น.
[email protected]
213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 สุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110