ปรึกษาผลิตภัณฑ์กับเรา

คาร์โบไฮเดรตกับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

28-Mar-2017     อ่าน : 4743 คน


 

คาร์โบไฮเดรตกับผู้ป่วยโรคมะเร็ง   

เมื่อรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว ผลไม้ จะถูกย่อยสลายเป็นน้ำตาลกลูโคส (Simple Sugar) ก่อน แล้วถูกดูดซึมเพื่อร่างกายนำไปเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานเพื่อการทำงาน คาร์โบไฮเดรตจึงเป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย โดยการให้กลูโคสแก่เซลล์ต่าง ๆ 

ถ้าร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตน้อยเกินไป ตับซึ่งเป็นอวัยวะสะสมไกลโคเจนจะสลายไกลโคเจนเป็นกลูโคสเพื่อนำไปใช้ หรืออาจสร้างจากโปรตีนก็ได้ ดังนั้น ตราบใดที่เรามีคาร์โบไฮเดรตเพียงพอ ร่างกายจะเก็บโปรตีนไว้ใช้เพื่อการเจริญเติบโต เสริมสร้างกล้ามเนื้อ คาร์โบไฮเดรตจึงเป็นสารอาหารที่ทำให้ร่างกายเก็บโปรตีนไว้ได้ ในทางกลับกัน ถ้าร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป กลูโคสมีปริมาณมากขึ้น ฮอร์โมนอินสุลินที่ช่วยในการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ อาจไม่พอเพียง ทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง เกิดเป็นโรคเบาหวานได้


นอกจากนี้คาร์โบไฮเดรตยังช่วยในการเผาผลาญไขมัน (Fat Metabolism) ให้สมบูรณ์ โดยช่วยให้ Acetyl Co A ถูกเปลี่ยนเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ถ้าไม่มีคาร์โบไฮเดรตแล้ว Acetyl Co A จะถูกสลายเป็นคีโทน (Ketone) ซึ่งเกิดอันตรายแก่ร่างกายได้

ในแต่ละวันคนเราควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตประมาณร้อยละ 55-60 ของปริมาณพลังงานทั้งหมด เช่น ถ้าต้องการพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรตที่ควรได้รับ คือ ประมาณ 300 กรัม (2,000 x 0.6  =  1,200 แล้วหารด้วย 4) และควรได้รับคาร์โบไฮเดรตประเภทใยอาหารด้วยประมาณ 10-13 กรัม ต่อ 1,000 กิโลแคลอรี

 

ผู้ป่วยมะเร็งเป็นกลุ่มที่ต้องการพลังงานสูง ควรต้องได้รับการดูแลปรับเปลี่ยนพลังงานและสารอาหารให้เหมาะสม หากร่างกายขาดสารอาหารจะส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมเซลล์มะเร็งได้  อีกทั้งร่างกายผู้ป่วยก็จะทรุดโทรม  ไม่สามารถเข้าสู่การรักษาได้อย่างต่อเนื่องตามแผนการรักษา หรือไม่มีภูมิคุ้มกันที่ดีพอในการต่อสู้กับมะเร็ง  หากผู้ป่วยมะเร็งได้รับคาร์โบไฮเดรตไม่สมส่วน ร่างกายจะใช้พลังงานจากสารอาหารตัวอื่นแทน ได้แก่ พวกไขมันและโปรตีน โดยร่างกายจะเลือกสลายกล้ามเนื้อออกมา ทำให้ร่างกายทำลายตัวเอง หรือเรียกว่าการกินตัวเอง ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งเกิดภาวะกล้ามเนื้อเหี่ยวฝ่อลีบลงอย่างเห็นได้ชัด จนสุดท้ายก็จะเข้าสู่ภาวะทุพโภชนาการในที่สุด

ประเภทของคาร์โบไฮเดรต  

คาร์โบไฮเดรต เป็นสารประกอบของ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน คาร์โบไฮเดรตแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. Simple Carbohydrate ได้แก่ น้ำตาลที่มีขนาดโมเลกุลเล็กพวกโมโนแซคคาไรด์ เช่น กลูโคส ฟรุคโตส กาแลคโตส แลคโตส
  2. Complex Carbohydrate หรือเรียกว่า โพลีแซคคาร์ไรด์ เป็นสารประกอบขนาดใหญ่ ประกอบด้วย หน่วยน้ำตาลโมโนแซคคาไรด์หลายร้อยหลายพันหน่วยปกติ จะไม่มีรสหวาน ได้แก่ แป้ง ไฟเบอร์ ใยอาหารที่พบในพืช เช่น เผือก มัน ข้าวโพด ส่วนในคนและสัตว์ คือ ไกลโคเจน

ผู้ป่วยมะเร็งควรกินให้เพียงพอ พบว่า เมื่อผู้ป่วยกินอาหารน้อยลงด้วยเหตุผลใด ๆ ก็แล้วแต่ ร่างกายจะเกิดความชิน เช่นเดียวกับคนอดอาหารเพื่อต้องการลดน้ำหนัก ร่างกายจะปรับตัวกินได้น้อยลง เมื่อชินความอยากอาหารจะลดลงภายใน 2-3 วัน จากนั้นจะเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนมากขึ้นในผู้ที่กำลังรับเคมีบำบัด เม็ดเลือดต่ำลง รักษาต่อไม่ได้ ที่สำคัญการไม่กินอาหารทำให้เม็ดเลือดแดงขาดออกซิเจนไปเลี้ยง ร่างกายขาดออกซิเจน เมื่อเซลล์มะเร็งได้รับออกซิเจนน้อยจะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ทำให้เซลล์มะเร็งดื้อยายิ่งขึ้น

คาร์โบไฮเดรต แนะนำให้กินไม่ต่ำกว่า 100 กรัมต่อวัน ถ้าต่ำกว่านี้พบว่ามวลกล้ามเนื้อผู้ป่วยจะถูกสลายไป กล้ามเนื้อจะลีบ ปริมาณ 100 กรัม คือ ข้าวประมาณมื้อละทัพพีครึ่ง 3 มื้อเป็นอย่างน้อย ข้าวกล้องหรือข้าวขาวก็ได้ ข้าวเหนียวกินได้แต่ไม่บ่อย

หากไม่อยากกินข้าวก็กระจายออกวันหนึ่งกิน 5 มื้อ มื้อหนึ่งกินครั้งล่ะครึ่งทัพพี หากคลื่นไส้อาเจียนไม่อยากอาหารเลย อาจเปลี่ยนเป็นกินขนมปังกรอบ (แครกเกอร์) แบบไม่มีน้ำตาล เพียง 4 ชิ้น เท่ากับข้าว 2 ทัพพี ให้พลังงาน 160 กิโลแคลอรี กินได้ปริมาณน้อยแต่ได้พลังงานมากแบบนี้ใช้ได้

 

 

ปรึกษาผลิตภัณฑ์ยาจีน

กรุณากรอกแบบฟอร์ม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง


มะเร็งกับอาหาร

มะเร็งกับการรักษา

มะเร็งกับการดูแล

บริษัท เฟยดา จำกัด

โดยตั้งแต่ปี 1998 บริษัท เฟยดา จำกัด สาขาประจำประเทศไทย เริ่มดำเนินงานนำเข้า และเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรเทียนเซียนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

อ่านต่อ >>

ผลิตภัณฑ์ของเรา

ยาน้ำเทียนเซียน

เอ็กซ์แทร็คท์ พลัส

นิทรา เฮอร์เบิล ฟุทโซค

ติดต่อเรา

02-264-2217,02-264-2218,
02-264-2219
เวลาทำการ 08.30 น.-17.00 น.
[email protected]
213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 สุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110

Copyright © 2020 บริษัท เฟยดา จำกัด. All rights reserved.