ปรึกษาผลิตภัณฑ์กับเรา

รู้จักมะเร็งเต้านม

05-Mar-2010     อ่าน : 29320 คน


       

 

รู้จักมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อย เป็นอันดับ 2 ในหญิงไทย รองจากมะเร็งปากมดลูก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญ อัตราการเป็นมะเร็งเต้านม พบมากขึ้นเรื่อยๆ ประมาณว่า 1 ใน 10 ของผู้หญิงมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งเต้านมในช่วงหนึ่งของชีวิต

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม 

สาเหตุของมะเร็งเต้านมที่แท้จริงยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมากขึ้นในผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้น พบได้น้อยในผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 35 ปี และเกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ยิ่งมีอายุมากขึ้นจะมีความเสี่ยงมากขึ้น นอกจากนี้มะเร็งเต้านมมีโอกาสเกิดขึ้นบ่อยกว่าในผู้หญิงผิวขาวมากกว่าผิวดำ หรือผู้หญิงชาวเอเชีย ผู้ชายพบได้น้อยกว่าผู้หญิงมาก ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม เช่น

  • พันธุกรรม ผู้ที่มีญาติสายตรง เช่น พ่อแม่ พี่น้อง เป็นมะเร็ง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมากกว่าผู้ที่ไม่มีพันธุกรรมของโรคนี้เพิ่มขึ้น
  • เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุน้อย(อายุก่อน 12 ปี), หมดประจำเดือนเมื่ออายุมาก (หลังอายุ 55 ปี)
  • ไม่มีบุตร หรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี
  • การใช้ยาคุมกำเนิดตั้งแต่อายุน้อยและใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  • การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนในสตรีวัยหมดประจำเดือน จะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติเล็กน้อย
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก มีผลงานวิจัยพบว่า ชาวอเมริกาที่บริโภคไขมันมาก และอ้วนมากเป็นมะเร็งเต้านมกันมาก รวดเร็ว ต่อมาอาจคลำพบก้อน เริ่มด้วยการมีก้อนเล็ก ๆที่เต้านม มักไม่มีอาการเจ็บปวด บวม หรืออักเสบ ก้อนจะโตขึ้นอย่าง

อาการและอาการแสดง 

  • มะเร็งเต้านมในระยะแรกส่วนใหญ่แล้วไม่ปรากฏอาการเจ็บปวด อาการอาจเริ่มด้วยการมีก้อนเล็ก ๆที่เต้านม โดยไม่มีอาการเจ็บปวด( พบเพียง 15% ที่มีอาการเจ็บ) บวม หรืออักเสบ
  • ก้อนจะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ต่อมาอาจคลำพบก้อน เต้านมมีรูปร่างผิดปกติ มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณเต้านม หรือหัวนม เช่น บวมแดง ร้อน หรือเป็นสะเก็ด ผิวหนังบริเวณเต้านมมีลักษณะหยาบและขรุขระเหมือนผิวส้ม ขนาดของก้อนโตขึ้นและแตกออกเป็นแผล
  • มีการดึงรั้งของหัวนม หัวนมมีการยุบหรือบุ๋ม ในบางรายมีน้ำเหลืองหรือเลือดไหลซึมออกจากหัวนม
  • มีต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้โต

การวินิจฉัยโรค

  1. การซักประวัติ ประวัติของการตรวจพบก้อนที่เต้านม อาการที่เกิดร่วมเช่น มีเลือดหรือสารน้ำหลั่ง(abnormal discharge) ออกทางหัวนมหรือไม่ การถามถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
  2. การตรวจร่างกาย โดยแพทย์จะคลำดูขนาด (size) รูปร่าง (contour) ลักษณะของก้อน (texture) การกดเจ็บ (tenderness) และตำแหน่ง (position) ของก้อนนั้นๆจะช่วยในการบันทึกข้อมูลได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเมื่อตรวจติดตามในระยะต่อมา ก้อนที่คลำพบ หากมีลักษณะผิวขรุขระไม่เรียบ แข็ง ยึดติดกับผิวหนังด้านบนจนเห็นเป็นรอยบุ๋ม (skin dimpling) หรือผิวหนังของเต้านมเหนือก้อนมีลักษณะเหมือนเปลือกส้ม (pour orange)
  3. การตรวจพิเศษ การตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) ร่วมกับการตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านม สามารถนำมาใช้ เพื่อการวินิจฉัยโรค กรณีที่ตรวจพบก้อนที่เต้านม หรือเพื่อการตรวจคัดกรอง (screening) เพื่อให้สามารถพบก้อนที่เต้านมหรือโรคมะเร็งเต้านม ในระยะเริ่มต้น การเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อเพื่อพิสูจน์ทางพยาธิวิทยา(Biopsy) อาจทำได้โดยวิธีเจาะดูดของเหลวจากถุงน้ำ หรือก้อนที่สงสัยด้วยเข็มขนาดเล็ก (Fine – needle aspiration-FNA) การตัดชิ้นเนื้อด้วยเข็มขนาดโต ( Core needle biopsy) หรือการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจด้วยการผ่าตัด(Surgical biopsy) ตัวอย่างเนื้อเยื่อจะยืนยันการวินิจฉัยขั้นสุดท้ายก่อนวางแผนการรักษา

การรักษา 

แผนการรักษามักขึ้นอยู่กับระยะของโรค ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด รังสีรักษา เคมีบำบัด ฮอร์โมนบำบัดและสารประกอบชีวภาพ (Biological therapy) แพทย์ผู้ให้การดูแลจะแนะนำให้ใช้การรักษาแบบผสมผสาน เพื่อผลการรักษาและการพยากรณ์โรคที่ดีที่สุดโดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นสำคัญ หลักของการรักษามะเร็งเต้านมแบ่งเป็น

  1. การรักษาเฉพาะที่ (Local therapy) โดยการผ่าตัดและการฉายรังสีรักษา ซึ่งจะตัดเอาก้อนเนื้อร้ายในตำแหน่งเฉพาะที่หรือรอยโรคที่ตรวจพบ แต่ถ้ามะเร็งเต้านมมีการกระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย การรักษาเฉพาะที่อาจช่วยควบคุมอาการได้ในขอบเขตบริเวณที่จำกัด
  2. การรักษาแบบทั้งร่างกาย (Systemic therapy) จะใช้การกำจัดหรือควบคุมมะเร็งทั่วทั้งร่างกาย ด้วยยาฉีดหรือยารับประทาน เช่น การให้ยาเคมีบำบัด การรักษาด้วยฮอร์โมนและสารประกอบชีวภาพ ผู้ป่วยบางรายได้รับการรักษาทั้งระบบเพื่อทำให้ก้อนเนื้องอกเล็กลงก่อนที่จะให้การรักษาเฉพาะที่ และบางรายจะได้รับการรักษาทั้งระบบเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของมะเร็ง รวมทั้งเป็นการรักษาในกรณีที่มีการกระจายของโรคออกจากบริเวณเต้านมไปแล้ว

การตรวจคัดกรอง 

การตรวจคัดกรองเป็นการช่วยค้นหาโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสการรักษาโรคให้หายขาด การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ได้แก่

  1. การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง (Breast self-examination) เมื่อเริ่มอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรทำการตรวจ เต้านมด้วยตนเองทุกเดือนอย่างถูกวิธี ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตรวจคือ 5 ถึง 7 วัน นับจากประจำเดือนหมด ส่วนสตรีที่หมดประจำเดือนให้กำหนดวันที่จดจำง่ายและตรวจในวันเดียวกันของทุกเดือน การตรวจเต้านมด้วยตนเองต้องตรวจตามวิธีที่ถูกต้องและสม่ำเสมอจะสามารถตรวจพบก้อนได้ตั้งแต่ยังมีขนาดไม่โตมากนักซึ่งการรักษาจะได้ผลดี วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
  2. การตรวจเต้านมโดยแพทย์ การตรวจเต้านมโดยแพทย์ผู้ชำนาญ เป็นขั้นตอนหนึ่งในการตรวจร่างกายประจำปีๆละครั้งตั้งแต่อายุ 40ปีขึ้นไป หรือเมื่อสงสัยก้อนที่เต้านม
  3. การตรวจ Mammogram การตรวจเอกซเรย์เต้านม หรือที่เรียกว่าแมมโมแกรม ร่วมกับการตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านม ช่วยในการตรวจค้นหาก้อนบริเวณเต้านมที่มีขนาดเล็กจนคลำไม่พบ

ข้อแนะนำการตรวจแมมโมแกรมในสตรีมีดังนี้

  • อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจแมมโมแกรม ทุก1-2ปี
  • กลุ่มอายุ 35 ปี ที่มีปัจจัยเสี่ยง ควรตรวจทุก 1ปีและควรปรึกษาแพทย์ถึงความถี่ของการตรวจแมมโมแกรม

 


 
ปรึกษาผลิตภัณฑ์

กรุณากรอกแบบฟอร์ม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง


รู้จักโรคมะเร็ง

มะเร็งกับการรักษา

มะเร็งกับการดูแล

บริษัท เฟยดา จำกัด

โดยตั้งแต่ปี 1998 บริษัท เฟยดา จำกัด สาขาประจำประเทศไทย เริ่มดำเนินงานนำเข้า และเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรเทียนเซียนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

อ่านต่อ >>

ผลิตภัณฑ์ของเรา

ยาน้ำเทียนเซียน

เอ็กซ์แทร็คท์ พลัส

นิทรา เฮอร์เบิล ฟุทโซค

ติดต่อเรา

02-264-2217,02-264-2218,
02-264-2219
เวลาทำการ 08.30 น.-17.00 น.
[email protected]
213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 สุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110

Copyright © 2020 บริษัท เฟยดา จำกัด. All rights reserved.