ปรึกษาผลิตภัณฑ์กับเรา

การดูแลแก้ไขอาการท้องอืดอาหารไม่ย่อย-ตอนที่ 1

24-Sep-2012     อ่าน : 8612 คน


 

การดูแลแก้ไขอาการท้องอืดอาหารไม่ย่อย-ตอนที่ 1

โรคท้องอืด ท้องเฟ้อ หรืออาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้บ่อย เป็นอาการผิดปกติของท้องหรือลำไส้ มักมีอาการบริเวณตรงกลางของท้องด้านบน อยู่ระหว่างใต้ลิ้นปี่และเหนือสะดือ ตัวอย่างอาการของโรคท้องอืด ได้แก่ ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง มีการบีบรัดของลำไส้ ท้องหลามตึงๆ อืดๆ มีลม หรือก๊าซในกระเพาะอาหาร เรอเหม็นเปรี้ยว และอาจมีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกเหนือลิ้นปี่ และบางรายอาจมีคลื่นไส้ อาเจียน อิ่มเร็วร่วมด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอาการร่วมกันก็ได้

สาเหตุของท้องอืด

จะแก้ไขได้ต้องทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการท้องอืดแต่ละบุคคลก่อน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคท้องอืดเกิดจากอาหารหรือพฤติกรรมการกิน เป็นสำคัญ รองลงมาคือโรคของระบบทางเดินอาหาร ยาบางชนิด แอลกอฮอล์ กาเฟอีน บุหรี่ เป็นต้น

ท้องอืดจากการกินอาหาร

1. ชนิดของอาหารและเชื้อแบคทีเรียในลำไส้

อาหารที่ย่อยไม่หมดโดยเฉพาะอาหารพวกแป้งที่มีใยอาหารจะไม่ถูกย่อย เมื่อผ่านไปถึงลำไส้ใหญ่เชื้อแบคทีเรียจะย่อยสลายทำให้เกิดก๊าซ นอกจากนั้นน้ำตาลที่อยู่ในนมหากร่างกายไม่ย่อยก็ทำให้เกิดก๊าซมากเช่นกัน ในบางชนิดของอาหารมีผลต่อท้องอืดโดยตรง ได้แก่

  • อาหารพวก กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ ถั่ว บร็อคโคลี หอมใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต มันฝรั่ง เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีใยอาหาร และแป้งมากทำให้ลำไส้เล็กดูดไม่หมด อาหารเหลือไปยังลำไส้ใหญ่เกิดการหมักทำให้เกิดก๊าซ
  • อาหารที่มีใยอาหารมาก เช่น เมล็ดธัญพืช ข้าวโอ๊ต ผักและผลไม้ ทำให้เกิดอาการท้องอืด แต่หลังจาก 3 สัปดาห์ บางคนจะปรับตัวได้ แต่บางคนอาการท้องอืดและมีก๊าซก็จะเป็นตลอด
  • นม ลำไส้บางคนขาดเอ็นไซม์ในการย่อยนม เมื่อดื่มนมจะทำให้ท้องอืด
  • อาหารที่มีไขมันสูง เช่น แกงกะทิ ช็อกโกแลต เนย
  • อาหารรสจัด ไม่ว่าจะเปรี้ยวจัด หรือเผ็ดจัด
  • อาหารที่ย่อยได้ยาก เช่น เนื้อสัตว์ กากใยอาหารบางชนิด

2. พฤติกรรม อุปนิสัย หรือลักษณะการกินอาหาร

  • พฤติกรรม หรืออุปนิสัย ลักษณะการกินอาหาร ก็มีส่วนทำให้เกิดท้องอืดได้ เช่น เร่งรีบกินอาหาร เคี้ยวไม่ละเอียด กินอาหารผิดเวลา กินอาหารจนอิ่มมากเกินไป หรือการล้มตัวลงนอนหลังจากกินอาหารเสร็จใหม่ๆ ล้วนเป็นลักษณะการกินอาหารที่ไม่ดี ทำให้เกิดท้องอืดได้
  • การกินลม หมายถึง การกลืนลมเข้าไปทางปากและไหลลงไปในท้อง ทำให้กระเพาะอาหารมีก๊าซจำนวนมากเกิดท้องอืดได้ ตัวอย่างการกินหรือกลืนลม ได้แก่ การพูดมาก (ลมเข้าปาก) การเคี้ยวหมากฝรั่ง การดูดลูกอม การดูดของเหลวหรือน้ำผ่านหลอดเล็กๆ การดื่มน้ำจากขวดปากแคบ เป็นต้น

ท้องอืดจากโรคของระบบทางเดินอาหาร

  • โรคของระบบทางเดินอาหารหลายชนิดก็ทำให้เกิดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย เช่น แผลกระเพาะอาหาร กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับเข้าไปในหลอดอาหาร (Gastro-esophageal Reflux Disease GERD) กระเพาะอาหารอักเสบ มะเร็งกระเพาะอาหาร นิ่วถุงน้ำดี เป็นต้น
  • โรคที่ลำไส้มีการอุดตันทำให้ก๊าซไม่สามารถไปลำไส้ใหญ่ เช่น ไส้เลื่อนที่อุดตัน ผังผืดในท้องรัดลำไส้เป็นต้น ผู้ที่มีโรคดังกล่าวจะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด อาเจียน
  • ลำไส้เคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลำไส้แปรปวน อาหารที่มันหรือมีกากมาก
  • ผู้ป่วยที่มีลำไส้ไวต่อการกระตุ้น แม้ว่าก๊าซในลำไส้อาจจะไม่มากแต่ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นท้อง

ท้องอืดจากยาบางชนิด แอลกอฮอล์ คาเฟอีน และบุหรี่

ยาที่เป็นสาเหตุโรคท้องอืดพบได้บ่อย คือ ยาลดการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal Antiinflammatory Drugs-NSAIDs) หรือ เรียกตามชื่อย่อว่าเอ็นเสด เป็นยาที่มีฤทธิ์แก้อักเสบชนิดที่ไม่มีการติดเชื้อซึ่งมักใช้บรรเทาอาการอักเสบข้อ อักเสบกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และไข้ ตัวอย่างยากลุ่มนี้ เช่น แอสไพริน ไดโคลฟีแนก ไพร็อกซีแคม นาโพรซิน อินโดเมทาซิน เป็นต้น

ยากลุ่มดังกล่าวข้างต้นมีคุณสมบัติเป็นกรด ทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยและถ้าใช้ยากลุ่มนี้ติดต่อกันนานๆ ก็อาจทำให้เกิดแผลกระเพาะอาหารได้ ดังนั้นหากจำเป็นต้องใช้ยากลุ่มนี้ควรกินหลังอาหารทันทีและใช้เมื่อจำเป็นหรือเมื่อมีอาการเท่านั้น ไม่แนะนำให้ใช้ติดต่อกันโดยไม่จำเป็นเพราะมีผลเสียรุนแรง

นอกจากยาที่ทำให้ท้องอืดได้แล้ว เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม โซดา เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน (กาแฟ ชา) และบุหรี่ ก็ทำให้ท้องอืด และอาหารไม่ย่อยได้

 

 

ปรึกษาผลิตภัณฑ์

กรุณากรอกแบบฟอร์ม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Tag ที่เกี่ยวข้อง

ความรู้ทั่วไป ท้องอืด สาเหตุมะเร็ง

มะเร็งกับการดูแล

มะเร็งกับการรักษา

มะเร็งกับอาหาร

บริษัท เฟยดา จำกัด

โดยตั้งแต่ปี 1998 บริษัท เฟยดา จำกัด สาขาประจำประเทศไทย เริ่มดำเนินงานนำเข้า และเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรเทียนเซียนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

อ่านต่อ >>

ผลิตภัณฑ์ของเรา

ยาน้ำเทียนเซียน

เอ็กซ์แทร็คท์ พลัส

นิทรา เฮอร์เบิล ฟุทโซค

ติดต่อเรา

02-264-2217,02-264-2218,
02-264-2219
เวลาทำการ 08.30 น.-17.00 น.
[email protected]
213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 สุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110

Copyright © 2020 บริษัท เฟยดา จำกัด. All rights reserved.