03-Aug-2012 อ่าน : 7333 คน
มะเร็งเต้านมมีสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ คือ การได้รับฮอร์โมนเพศกระตุ้นตัวรับอย่างมากเกินปกติ โดยสารที่ได้จากธรรมชาติที่สามารถกระตุ้นตัวรับเอสโตรเจน (Estrogen) ได้เช่นเดียวกับฮอร์โมนในร่างกาย คือ ไอโซฟลาโวนส์ (Isoflavones) เป็นกลุ่มของโมเลกุลที่มีโครงสร้างที่ใกล้เคียงกัน โดยไอโซฟลาโวนส์จะถูกสร้างขึ้นในพืชในตระกูลถั่ว อาหารที่อุดมไปด้วยปริมาณของไอโซฟลาโวนส์ ได้แก่ ถั่วเหลือง (soy), ถั่วลิสง (peanuts), ถั่วลูกไก่ (chick peas), ถั่วแอลฟาลฟา (alfalfa), ถั่วปากอ้า (fava beans) และถั่วคุดสุ (kudzu) นอกจากพวกถั่วแล้ว ยังพบได้ในพืชพวก แบล็ค โคฮอส์ (black cohosh) และ ฮอพ (hops) แต่ที่พบได้มากในบ้านเราเห็นจะเป็นพวกถั่วเหลือง นอกจากนี้ยังสามารถพบไอโซฟลาโวนส์ในพืชที่มีชื่อว่า red clover ซึ่งเรามักไม่ทาน red clover เป็นอาหาร แต่มีการใช้ในอุตสาหกรรมมากกว่า เพื่อสกัดไอโซฟลาโวนส์มาใช้เป็นอาหารเสริม
คุณสมบัติของไอโซฟลาโวนส์และผลต่อร่างกาย
1. เป็นฮอร์โมนจากธรรมชาติที่ได้จากพืช
ด้วยโครงสร้างที่ใกล้เคียงกันกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ทำให้ไอโซฟลาโวนส์มีคุณสมบัติคล้ายเอสโตรเจน แต่มีความแรงน้อยกว่าเอสโตรเจนถึง 400 เท่า ด้วยฤทธิ์ที่คล้ายเอสโตรเจนนี้ ทำให้นักวิจัยบางส่วนเชื่อว่าไอโซฟลาโวนส์อาจช่วยในเรื่องของการป้องกันมะเร็ง, โรคหัวใจบางชนิด และโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) ได้
2. เป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ตามธรรมชาติ
นอกจากไอโซฟลาโวนส์จะมีคุณสมบัติของเอสโตรเจนแล้ว ยังพบคุณสมบัติในการเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ อีกด้วย โดยไอโซฟลาโวนส์เป็นหนึ่งในสารที่อยู่ในกลุ่มของฟลาวานอยด์ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ที่ใช้ในการสะเทินพิษของอนุมูลอิสระ จึงมีผู้พยายามอธิบายกลไกการป้องกันมะเร็ง โดยอาศัยทฤษฏีที่เกี่ยวกับการต้านอนุมูลอิสระแทนการอธิบายโดยใช้กลไกของการแย่งจับกับตัวรับของเอสโตรเจน โดยมีการวิจัยพบว่าไอโซฟลาโวนส์มีคุณสมบัติของการเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ได้ดีพอๆ กับพวกวิตามินอี จึงสามารถป้องกันการที่ดีเอ็นเอจะถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ ส่งผลให้ไอโซฟลาโวนส์ สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง
แหล่งและปริมาณไอโซฟลาโวนส์
เราสามารถพบไอโซฟลาโวนส์ได้ในอาหารหลายชนิด แหล่งที่พบว่ามีปริมาณของไอโซฟลาโวนส์สูงสุด ได้แก่ ในถั่วเหลือง และในเทมเป้ (tempeh) ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองประเทศอินโดนีเซีย ทำจากถั่วเหลืองหมัก แต่ที่รู้จักกันมากที่สุดก็คือ การได้จากถั่วเหลือง จึงมีผู้มักเรียกว่า Soy Isoflavones
ประโยชน์ของไอโซฟลาโวนส์และงานวิจัยที่สนับสนุน
มีการศึกษาในเชิงระบาดวิทยาหลายการวิจัย ที่แสดงถึงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งในกลุ่มคนต่างเชื้อชาติ โดยพบว่าการเกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีอุบัติการณ์ที่สูงกว่ามากในประเทศแถบอเมริกา และ ยุโรป เมื่อเทียบกับประเทศในแถบเอเซีย เช่น จีน หรือ ญี่ปุ่น ซึ่งเชื่อว่า ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการกินอาหารที่แตกต่างกัน โดยพบว่า คนจีนและญี่ปุ่นมักรับประทานอาหารที่ทำมาจากถั่วเหลือง ซึ่งในถั่วเหลืองจะมีสารในกลุ่มไอโซฟลาโวนส์ที่สามารถไปลดการเกิดมะเร็งทั้งสองชนิดดังกล่าวได้ ในขณะที่ในญี่ปุ่นจะมีสถิติการตายจากมะเร็งเต้านมน้อยกว่าในอเมริกาถึง 4 เท่า
สารที่สำคัญและมีมากในกลุ่มไอโซฟลาโวนส์ ก็คือ Genistein ซึ่งมีการวิจัยหลายการวิจัยที่สนับสนุนว่า สาร Genistein สามารถไปลดการเกิดมะเร็งทั้งในสัตว์ทดลองและในคนได้ สาร Genistein รู้จักกันในนามของ "เอสโตรเจนที่ได้จากพืช" (Phytoestrogen) และมีคุณสมบัติในการเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวทำให้ genistein ถูกนำมาใช้ในการป้องกัน และรักษามะเร็ง
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างการได้รับไอโซฟลาโวนส์และการลดความเสี่ยงจากมะเร็งเต้านม และมะเร็งเยื่อบุมดลูก (Endometrial Cancer) โดยพบว่า ผู้หญิงในกลุ่มที่รับประทานผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองจะสามารถลดความเสี่ยงจากการเกิดมะเร็งเยื่อบุมดลูกถึง 54% และอีกการวิจัย พบว่าไอโซฟลาโวนส์ยังแสดงฤทธิ์ในการขัดขวางการเติบโตของเส้นเลือดใหม่ในตัวเนื้องอก (Angiogenesis) ซึ่งการเจริญเติบโตของเนื้องอกนั้น จำเป็นต้องมีเส้นเลือดมาเลี้ยง และพบว่า genistein ซึ่งเป็นไอโซฟลาโวนส์ตัวหนึ่งจะทำหน้าที่ในการไปกีดขวางขบวนการดังกล่าว
โดยตั้งแต่ปี 1998 บริษัท เฟยดา จำกัด สาขาประจำประเทศไทย เริ่มดำเนินงานนำเข้า และเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรเทียนเซียนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย
อ่านต่อ >>
ยาน้ำเทียนเซียน
เอ็กซ์แทร็คท์ พลัส
นิทรา เฮอร์เบิล ฟุทโซค
02-264-2217,02-264-2218,
02-264-2219
เวลาทำการ 08.30 น.-17.00 น.
[email protected]
213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 สุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110