10-Jul-2012 อ่าน : 6945 คน
อาการข้างเคียงจากการฉายแสงทำให้ผู้ป่วยขาดความสมดุลร่างกาย แต่อาหารสามารถแก้ไขให้คืนสู่สมดุล
1. การเลือกอาหารหลังการฉายแสงสำหรับผู้ป่วยมะเร็งบริเวณศีรษะและคอ
สภาวะหลังการฉายแสง
มะเร็งส่วนศีรษะและคอรวมถึงมะเร็งจมูกและลำคอ มะเร็งช่องปาก เป็นต้น ผ่านการฉายแสงแล้วร้อยทั้งร้อยจะทำให้เนื้อเยื่อของช่องปากบาดเจ็บและต่อมน้ำลายถูกทำลายเสียหาย ต่อมน้ำลายผลิตน้ำลายได้น้อยลง เนื้อเยื่อในช่องปากและลำคอห้อเลือด บวม เจ็บปวด หรือกระทั่งเป็นแผลเปื่อย ผู้ที่อาการหนักจะมีอาการแทรกเช่นเสียงแหบแห้ง กลืนกินลำบาก เป็นต้น
การเลือกอาหาร
ในช่วงเวลานี้การจัดการและปรับอาหารการกินให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง การเลือกอาหารควรเน้นให้เป็นรสจืดและน้ำใส อาหารที่เย็นชุ่มคอ เสริมสารน้ำบำรุงยิน อาหารหลักควรเน้นข้าวเจ้า ข้างสาลีและถั่วเมล็ดใหญ่ เนื้อสัตว์ให้เลือกเนื้อหมู เนื้อเป็ด เนื้อห่าน ตะพาบน้ำ หอยแมลงภู่ เป็นต้น ผักต้องสดและอ่อน ควรเลือกมะระ แครอท ปวยเล้ง ผักกาดขาว แตงกวา ฟักเขียว หน่อไม้สด เป็นต้น ซึ่งอุดมด้วยวิตามิน ซี และผักอื่นๆ ซึ่งอุดมด้วยสารเบต้าแคโรทีน ส่วนผลไม้ให้เลือกสาลี่ กล้วยหอม ส้มเช้ง แห้ว หล่อฮั่งก้วย แตงโม เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะเพิ่มสารบำรุงแล้วยังมีบทบาทในการบำรุงยินเสริมสารน้ำได้ด้วย แตงโมและสาลี่นั้นก็นำไปปั่นเป็นน้ำผลไม้ได้
2. การเลือกอาหารหลังการฉายแสงสำหรับผู้ป่วยมะเร็งบริเวณช่วงอก
สภาวะหลังการฉายแสง
มะเร็งส่วนอก ได้แก่ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม ตลอดจนมะเร็งกระบังลม ผู้ป่วยเหล่านี้ในระหว่างที่รับการฉายแสงหรือหลังการฉายแสง มักมีอาการหลอดอาหารอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดอาหารอักเสบจะทำให้เนื้อเยื่อหลอดอาหารห้อเลือด บวม ถ้าเป็นหนักจะทำให้กลืนอาหารไม่ได้ เนื้อเยื่อเป็นแผลเปื่อย เวลากลืนอาหารจะเจ็บหลังกระดูกลิ้นปี่ ส่วนปอดอักเสบทำให้ปากคอแห้งผาด ไอแห้งเสมหะน้อย อาการที่กล่าวมานั้นเกิดจากพิษของความร้อนชื้น
การเลือกอาหาร
การปรับอาหารการกินควรเป็นประเภทชุ่มคอ ละลายเสมหะ ถอนพิษ แก้อักเสบ อาจเลือกเครื่องดื่มรวมมิตรทั้งห้า (ได้แก่ น้ำสาลี่ น้ำอ้อย น้ำรากบัวสด นมสด น้ำกู่ไช่สด) ต้มเม็ดบัวและเห็ดหูหนูขาวใส่น้ำตาลกรวด โจ๊กธัญพืชทั้งห้า (ได้แก่ ลูกเดือย เม็ดวอลนัท ลูกบัว งาดำ ข้างเจ้า นำธัญพืชทั้งห้าตำหรือบดให้แหลกต้มเป็นโจ๊ก) รับประทานวันละ1-2 ครั้ง ผู้ที่ฐานะการเงินดีหน่อย ให้ดื่มน้ำนมผึ้ง รังนก หูฉลาม อาหารที่มีโปรตีนสูง เป็นต้น
3. การเลือกอาหารหลังการฉายแสงสำหรับผู้ป่วยมะเร็งบริเวณอุ้งเชิงกราน
สภาวะหลังการฉายแสง
มะเร็งอุ้งเชิงกราน ได้แก่ มะเร็งคอมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น ในขณะที่ฉายแสง รังสีมักทำลายเนื้อเยื่อของลำไส้ใหญ่ท่อนขวาง ลำไส้ตรงใกล้ทวาร ทำให้เนื้อเยื่อลำไส้อักเสบเฉียบพลัน และลำไส้อักเสบเรื้อรัง ลำไส้อักเสบเฉียบพลันมักเกิดระหว่างการฉายแสงหรือภายใน 3 เดือน หลังการฉายแสง อาการที่แสดงออก คือ ปวดท้องแล้วต้องรีบถ่าย ปวดท้อง ท้องเสีย อุจจาระปนมูกหรือปนเลือด ลำไส้อักเสบเรื้อรังจะปรากฏหลังจบการฉายแสงบำบัด 3 เดือน อาการทางคลินิก คือ ท้องเสียเป็นพักๆ หรืออุจจาระบ่อยครั้ง อุจจาระปนเลือดหรือมูก มีอาการปวดท้องร่วมด้วย โลหิตจาง เป็นต้น
การเลือกอาหาร
เมื่อมีปัญหาลำไส้อักเสบเฉียบพลัน ในระยะนี้ให้ใช้ใบชา 20 กรัม ผัดกับขมิ้น และขิงสดอย่างละ 6 กรัม หั่นเป็นแผ่น หัวกระเทียมใหญ่ 1 กลีบ (ตบแหลก) เติมน้ำ 150 มิลลิลิตร นำไปต้ม 20 นาที เติมน้ำตาลแดงหรือน้ำผึ้งแล้วดื่ม วันละ 1-2 ครั้ง หรือใช้กระเทียมกลีบใหญ่ 3-4 กลีบผัดกับมะเขือสดกินเป็นกับข้าว วันละ 1 ครั้ง หรือใช้ผักเบี้ยสด 100 กรัม ต้มกับข้าวเจ้า 5 กรัม ต้มเป็นโจ๊กรับประทานวันละ 1 ครั้ง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โดย แพทย์จีน มาลิน ปิยะชินวรรณ
โดยตั้งแต่ปี 1998 บริษัท เฟยดา จำกัด สาขาประจำประเทศไทย เริ่มดำเนินงานนำเข้า และเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรเทียนเซียนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย
อ่านต่อ >>
ยาน้ำเทียนเซียน
เอ็กซ์แทร็คท์ พลัส
นิทรา เฮอร์เบิล ฟุทโซค
02-264-2217,02-264-2218,
02-264-2219
เวลาทำการ 08.30 น.-17.00 น.
[email protected]
213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 สุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110