19-Mar-2025 อ่าน : 33 คน
หลายคนมีความเข้าใจว่า การดูแลแบบประคับประคองมีไว้เพื่อให้ผู้ป่วยที่ใกล้ถึงวาระสุดท้ายเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว การดูแลแบบนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ป่วยที่ใกล้เสียชีวิต แต่เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกที่สุดเมื่อโรคเข้าสู่ระยะลุกลาม
การดูแลแบบประคับประคองยังมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงตัวโรค ระดับความรุนแรง แนวทางการรักษา ความเป็นไปได้และความเสี่ยงที่มาจากรักษา โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัว สามารถตัดสินใจรับการรักษาต่อหรือปฏิเสธการรักษาได้ง่ายยิ่งขึ้น
โดยทั่วไปแล้ว การดูแลแบบประคับประคองจะเริ่มต้นเมื่อโรคของผู้ป่วยดำเนินเข้าสู่ระยะลุกลาม หรือ อาการของโรคเริ่มหนักขึ้นจนเป็นอันตรายต่อตัวผู้ป่วยนั่นเอง ซึ่งครอบครัวสามารถต่อติดต่อแพทย์ผู้ดูแลเพื่อปรึกษาเรื่องแผนและขั้นตอนการดูแลต่อไปได้
การดูแลแบบประคับประคองยังครอบคลุมไปถึงการดูแลจิตใจของครอบครัวผู้ป่วย ตั้งแต่ผู้ป่วยถูกวินิฉัยไปจนถึงวาระสุดท้าย
การดูแลแบบประคับประคองไม่ได้จำกัดอยู่แค่กับผู้ป่วยโรคมะเร็งเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่ดำเนินไปถึงขั้นรุนแรงจนทำให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ลำบาก หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษา เช่น
นอกจากนี้ ยังรวมถึงผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หรือ มีโรคเรื้อรังหลายโรคร่วมกันด้วย
การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองสามารถทำได้ทั้งที่บ้านและสถานพยาบาล โดยจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ความพร้อมของเครื่องมือ และผู้ดูแล อาทิ เช่น หากผู้ป่วยจำเป็นต้องรับยาทางสายน้ำเกลือ หรือมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ ก็ควรจะเข้ารับการดูแลที่สถานพยาบาล
โดยหลักการของการดูแลแบบประคับประคองที่ดี มีคร่าว ๆ ดังนี้:
สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการดูแลแบบประคับประคอง คือ การที่ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมในช่วงเวลาที่ยังเหลืออยู่ โดยแพทย์จะเริ่มจากการประเมินอาการทางกาย และวางแผนการดูแลเพื่อบรรเทาอาการทางร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น อาการปวดกล้ามเนื้อ เหนื่อยหอบ ล้า หรือ คลื่นไส้อาเจียน รวมไปถึงดูแลสภาพจิดใจของผู้ป่วยให้ห่างจากภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความกลัว
ครอบครัวหรือคนรอบกายผู้ป่วยเองก็มีบทบาทสำคัญในการดูแลแบบประคับประคอง โดยครอบครัวควรเข้าใจถึงโรคและอาการของผู้ป่วย และรู้ถึงแผนการดูแล รวมไปถึงได้รับการสนับสนุนทางด้านจิตใจจากทีมแพทย์ผู้ดูแลอยู่เสมอ
สิ่งสำคัญของการดูแลแบบประคับประคอง คือ การอยู่เคียงข้างผู้ป่วยให้ไปถึงวาระสุดท้ายอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด โดยไม่มีการยื้อหรือเร่งเวลาการเสียชีวิต
อาการเหนื่อยหอบและอ่อนแรงจนมักทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตัวเองได้อย่างเต็มที่ เช่น ลุกเข้าห้องน้ำลำบาก หรือเดินได้เพียงระยะสั้น ๆ หากเป็นการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน เราสามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยได้ ดังนี้:
ผู้ป่วยในระยะประคับประคองมักทานอาหารได้น้อยลง ซึ่งมักเป็นผลมาจากการลุกลามของโรค โดยมักมาคู่กับการดื่มน้ำน้อยลงโดยไม่รู้ตัว การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ สามารถทำได้ตามแนวทาง ดังนี้
อาการเบื่ออาหาร-ทานน้อย อาจเกิดมาจากความต้องการที่น้อยลงตามธรรมชาติของสภาพร่างกาย เป้าหมายของการดูแลจึงไม่ใช่การให้ผู้ป่วยทานให้มากขึ้น หรือ การให้ผู้ป่วยทานแต่อาหารเพื่อสุขภาพ แต่เป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยทานได้อย่างมีความสุขและอิ่มท้องระหว่างวัน
อาการเหล่านี้มักเกิดจากสติสัมปะชัญญะที่ลดลง ซึ่งผู้ป่วยควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้ดูแล เพื่อลดความกังวลและป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเป็นภัยต่อตนเอง อีกทั้งควรได้รับยาบรรเทาอาการจากแพทย์ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่นที่สุด
โดยในกรณีของอาการเหล่านี้ (และอาการอื่น ๆ ที่เกินความสามารถในการรับมือของครอบครัว) ผู้ดูแลควรจะเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้และได้รับการฝึกฝนในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
สำหรับท่านใดที่กำลังมองหาตัวช่วยในเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะพักฟื้น ยาน้ำเทียนเซียน คือ ยาสมุนไพรตามองค์ความรู้แพทย์แผนจีน ช่วยขับร้อนถอนพิษ ปรับสมดุลร่างกาย เพิ่มความอยากอาหาร และบำรุงกำลัง
ยาน้ำเทียนเซียน ผ่านกระบวนผลิตมาตรฐาน GMP และสามารถใช้ร่วมกับการรักษาของแพทย์แผนปัจจุบันได้อย่างปลอดภัย
สนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ได้ที่ LINE: @tianxian
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
• การดูแลแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care คืออะไร?
Tag ที่เกี่ยวข้อง
การดูแลแบบประคับประคอง การดูแล ผู้ป่วยระยะสุดท้าย